กัญชาใบเหลือง

ไข 10 ข้อสงสัย กัญชาใบเหลือง เกิดจากอะไร? พร้อมวิธีแก้และป้องกัน

กัญชาใบเหลือง สงสัยกันไหมว่าทำไมกัญชา กัญชาใบไหม้ เกิดจาก ที่เราปลูกไว้ใบถึงเปลี่ยนสี มีจุดด่าง หรือมีความแปลกใดๆ ที่รู้สึกได้ว่าแบบนี้ผิดปกติแน่ๆ บางทีอาการเหล่านั้นอาจจะกำลังบอกเราอยู่ก็ได้ว่าต้นกัญชา อาการใบกัญชา กำลังอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ควรได้รับการแก้ไขเร่งด่วนก่อนจะลุกลาม โดยบทความนี้จะมาบอกว่ากัญชา ใบเหลือง เกิดจากอะไร พร้อมวิธีแก้ไขและป้องกันให้ถูกจุด

อาการกัญชาใบเหลืองเป็นอย่างไร

สำหรับผู้ที่ปลูกกัญชา ก่อนจะเห็นกัญชาใบเหลือง ใบกัญชาจะมีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้อยู่หลายอย่าง ขึ้นกับว่าสาเหตุที่ทำให้ใบกัญชาเหลืองเกิดจากอะไร ใบกัญชาบอกอาการ เช่น ปลายใบงอ ก้านอ่อนงอลง เกิดลายหรือจุดบนใบ ใบม้วน ขอบใบเริ่มพลิก ด้านล่างของต้นเริ่มเป็น ใบเหลือง คือ ปลายใบเริ่มเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล สภาพใบแห้ง หรือใบเริ่มมีจุดด่างเล็กๆ กระจายตัว ถ้าหากพบว่ากัญชามีอาการแบบนี้อย่าเพิ่งตกใจไป มันพอจะมีวิธีการแก้ไขและป้องกันอยู่

10 สาเหตุของกัญชาใบเหลือง

กัญชาใบเหลือง

กัญชาใบเหลือง กัญชาด่าง เกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากสภาพแวดล้อม ดิน น้ำ แดด สารอาหาร ศัตรูพืช และโรคระบาดต่างๆ แต่ละสาเหตุก็จะมีอาการระยะเริ่มแรกแตกต่างกันไป ต้นไม้ใบเหลืองเกิดจากอะไร และ มีวิธีแก้ใบกัญชาเหลืองที่ต่างกัน แต่ไม่ต้องกังวลลองไปดูรายละเอียดสาเหตุต่างๆ ไปด้วยกันดีกว่า

  1. รดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

สาเหตุแรกเลยที่นับว่าเป็นสาเหตุสุดคลาสสิก นั่นก็คือ การรดน้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนนะ ว่าต้นกัญชา จะชอบสภาวะแห้งและเปียกสลับกันไป การรดน้ำที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ กัญชาใบเหลือง ได้ ถ้าหากรดน้ำมากไปต้นกัญชาปลายใบจะงอ ขาดออกซิเจนและรากเน่า ส่วนถ้ารดน้ำน้อยเกินไปจะสังเกตเห็นว่าก้านเริ่มอ่อนงอลง จากนั้นใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและแห้งกรอบ

วิธีแก้ไขและป้องกัน

รดน้ำตอนที่หน้าดินเริ่มแห้ง โดยใช้มือสัมผัสหน้าดินลึกประมาณครึ่งข้อนิ้วดูก่อน

ลองยกกระถาง เพื่อวัดดูความหนักเบาของดินเวลาดินแห้งและดินเปียก เมื่อลองยกไปเรื่อยๆ ก็จะเริ่มรู้เองว่าน้ำหนักเบาลงประมาณนี้นะ น่าจะถึงเวลาที่ต้องรดน้ำเพิ่มแล้วล่ะ

  1. ค่า pH กรด-ด่างของดินไม่สมดุล

จำค่าความเป็น กรด-ด่าง ที่เคยเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์กันได้ไหม ใบกัญชาเป็นจุดขาวๆ ที่ต้นกัญชาใบเหลืองเกิดจากค่า pH ในดินไม่สมดุลได้ด้วยนะ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่หลายๆ คนมักจะมองข้ามกัน โดยค่า pH ที่เหมาะกับกัญชาจะอยู่ที่ 6.0-7.0 อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ได้นิดหน่อย ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เกินมากไปจากนี้ จะทำให้กัญชาเข้าสู่สภาวะ Nutrient Lockout หรือก็คือการที่รากนั้นไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ จึงทำให้กัญชาใบเหลืองหรืออาจเกิดลายหรือจุดบนใบ

วิธีแก้ไขและป้องกัน

ให้ลองวัดค่า pH ในดิน ก่อนที่จะเติมสารอาหารและปุ๋ยลงไป ถ้าหากดินมีความเป็นกรด-ด่างมากเกินไปให้ค่อยๆ เติมสารเพื่อช่วยปรับให้ดินเข้าสู่สมดุล

  1. โดนแสงหรือแดดมากเกินไป

กัญชาใบเหลืองเกิดจากโดนแสงแดดมากเกินไปก็เป็นไปได้เหมือนกันนะ ใบไหม้เกิดจากอะไร เนื่องจากกัญชาจะทนความร้อนจากแสงได้เพียงระดับนึง ถ้าหากได้รับมากเกินไปใบจะเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล ใบอาจมีการม้วนหรือขอบใบเริ่มพลิก ใบด้านบนที่โดนแสงเต็มๆ ใบจะแห้งและตายเร็วขึ้นด้วย

วิธีแก้ไขและป้องกัน

ปัญหานี้มักจะเกิดจากการปลูกในร่ม ป้องกันได้โดยวางแสงไฟในระดับที่เหมาะสม หรือแก้ไขโดยให้ขยับไฟสูงขึ้นห่างออกจากต้นกัญชามากขึ้น หรือใช้เครื่องวัดแสง (Lux Meter) เพื่อตรวจสอบปริมาณแสงที่กัญชาได้รับ

  1. ได้รับแสงน้อยเกินไปหรือแดดส่องไม่ถึง

การได้รับแสงที่เพียงพอสำคัญมากต่อการสังเคราะห์แสงของพืช อาการเหลือง กัญชาคือ หากได้รับแสงน้อยเกินไปหรือแดดส่องไม่ถึง เช่น เกิดเงาบังทำให้ใบที่อยู่ด้านล่างได้รับแสงไม่พอ จะทำให้ใบเริ่มเหลืองและหลุดร่วง เท่านั้นยังไม่พอต้นกัญชายังจะชะลอการเติบโต พยายามยืดตัวออกเพื่อไปหาแสง และอาจหยุดการเจริญเติบโตได้เลย

วิธีแก้ไขและป้องกัน

ป้องกันและแก้ใบกัญชาเหลืองได้โดยการเพิ่มการใช้งานหลอดไฟ LED คุณภาพสูงและสามารถกระจายแสงได้ดี เนื่องจากไฟ LED สร้างความร้อนน้อยกว่าหลอดไฟชนิดอื่นและประหยัดพลังงาน

กัญชาใบเหลือง
  1. ขาดสารอาหาร

โรคใบกัญชา อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่กัญชาใบเหลือง เกิดจากการที่ กัญชาขาดสารอาหาร ก็เหมือนกับคนเราเลยที่ควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่างๆ ให้เพียงพอ สำหรับกัญชานั้นสารอาหารที่เมื่อขาดแล้วจะทำให้ใบเหลือง เช่น ไนโตรเจน ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม ถ้าขาดไนโตรเจนจะสามารถสังเกตได้จากด้านล่างของต้นเริ่มเป็นสีเหลือง ถ้าขาดแคลเซียมหรือแมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารที่ช่วยลำเลียงไนโตรเจน ใบจะมีจุดด่างสีน้ำตาลขึ้นแล้วพอไนโตรเจนถูกลำเลียงไปไม่ถึงใบ ทำให้กัญชาใบเหลืองไปด้วย

วิธีแก้ไขและป้องกัน

  • ถ้าขาดไนโตรเจน ให้รดน้ำที่ผสมสารอาหารที่มีไนโตรเจนสูง โดยดูได้จากอัตราส่วน NPK ที่มาจาก Nitrogen, Phosphorus และ Potassium ตามลำดับ ให้เลือกใช้ค่าที่เลขตัวแรกสูง เช่น 20-0-0 หรือ 30-0-0
  • ถ้าขาดธาตุเหล็ก ให้เติมปุ๋ยสูตรทำดอก
  • ขาดแคลเซียมและแมกนีเซียม ใบกัญชาแห้ง ให้ใส่โดโลไมต์ภายในแปลง ซึ่งมีแคลเซียมและแมกนีเซียมในปริมาณสูง หรือฉีดพ่นใบด้วยแคลเซียมไนเตรท
  1. ใส่ปุ๋ยมากเกินไป

กัญชาใบไหม้ หรือ กัญชาใบเหลือง เกิดจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินไป ใส่ปุ๋ยมากเกินไป ใบเหลืองวิธีแก้ อะไรที่มากเกินไปมันก็ไม่ดีหรอกนะ เพราะการให้ปุ๋ยที่มากไปจะทำให้รากดูดซึมสารอาหารมากเกินจนทำให้สารอาหารสะสมอยู่ในใบมากตามไปด้วย จะเริ่มเห็นสัญญาณจากปลายใบเริ่มเป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาล ใบมีความกรอบและบิด

วิธีแก้ไขและป้องกัน

  • ให้ล้างดินด้วยน้ำสะอาด รดน้ำให้น้ำไหลผ่านดินปริมาณมากๆ โรคใบไหม้ วิธีแก้ จนกว่าน้ำที่ล้างจะออกมาเป็นสีใส
  • งดการใส่ปุ๋ยไปก่อน ถ้าจะใส่ให้ใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบ
  1. โรคระบาดและศัตรูพืช

โรคระบาดและศัตรูพืชเป็นเหตุให้กัญชาใบเหลืองได้ กัญชาปลายใบไหม้ โดยไม่ได้มีปัญหาแค่การปลูกกลางแจ้งเท่านั้น การปลูกในร่มก็เจอปัญหานี้ได้เช่นกัน โรคระบาดที่เจอได้จากสปอร์ที่ลอยอยู่หรือติดจากราก เช่น โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง โรคขอบใบแห้ง โรคเหี่ยว และโรคแคงเกอร์ กัญชาใบตกเกิดจากอะไร ศัตรูพิชที่พบได้ เช่น เพลี้ย และหนอนผีเสื้อ ปัญหาดังกล่าวจะทำให้กัญชาใช้พลังงานไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเพราะผลิตคลอโรฟิลล์ลดลง

วิธีแก้ไขและป้องกัน

  • ใช้น้ำมันสะเดาจัดการกับแมลงศัตรูพืช
  • ปลูกผักคู่หูก็เป็นอีกวิธีที่จะสามารถไล่แมลงศัตรูพืชได้
  • เพื่อป้องกันโรคระบาดให้เพิ่มเชื้อราไมคอร์ไรซาลงไปในดิน
  • เมื่อเห็นว่ามีต้นที่กำลังจะตายอย่างรวดเร็ว ให้รีบกำจัดทิ้งก่อนที่โรคจะแพร่กระจาย
  1. อุณหภูมิที่ร้อนเกินไป และหนาวเย็น

กัญชาใบเหลืองเกิดจากอุณหภูมิได้ด้วย ไม่ว่าจะร้อนเกินไปหรือหนาวเย็นเกินไป ขนาดเราเองอยู่ในที่อากาศร้อนยังรู้สึกเหมือนจะละลายเลย หรือในอากาศหนาวจัดก็เหมือนจะแข็งตาย ปลายใบไหม้เกิดจากอะไร สำหรับกัญชาก็ไม่ต่างกัน ถ้าร้อนเกินไปที่อุณหภูมิตั้งแต่ 28 องศาเซลเซียสขึ้นไป สภาพใบจะแห้ง น้ำจะระเหยอย่างรวดเร็วเกินไป ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างถูกต้องจนใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสก็ทำให้กัญชาใบเหลืองเช่นกัน

วิธีแก้ไขและป้องกัน

  • ปลูกในร่มแล้วอุณหภูมิร้อนเกินไปให้เพิ่มการไหลเวียนอากาศ โดยใช้เครื่องปรับอากาศหรือพัดลมขนาดเล็ก
  • ปลูกกลางแจ้งให้เพิ่มร่มเงาแก่ต้นกัญชา เพื่อให้ลดอุณหภูมิลง

อุณหภูมิที่ต่ำเกินไป ให้ทำเรือนกระจกหรือ Plant covering

  1. โรคใบ

โรคใบ หรือ Leaf Septoria เป็นโรคเชื้อราหรือการติดเชื้อที่ทำให้กัญชาใบเหลือง โดยจะเริ่มต้นจากใบเริ่มมีจุดด่างเล็กๆ สีออกเหลืองๆ จากนั้นจะเริ่มกระจายจากใบหนึ่งสู่ใบรอบๆ ข้างอย่างรวดเร็ว จากนั้นจุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบเริ่มเหลืองทั้งใบและเหี่ยวเฉาในที่สุด

วิธีแก้ไขและป้องกัน

  • หมั่นสังเกตใบกัญชาเป็นประจำ ถ้าเห็นความผิดปกติให้รีบตัดใบที่ติดเชื้อทิ้งไปซะ
  • ต้นกัญชาที่ได้ติดโรคใบแล้ว ต้องทำการเคลือบด้วยน้ำมันสะเดา ซึ่งจะช่วยทำลายเชื้อในส่วนที่มองไม่เห็น
  • เพื่อป้องกันไม่ให้โรคใบกลับมาอีก ให้เพิ่มการไหลเวียนอากาศภายในพื้นที่ปลูก อาจใช้พัดลมตัวเล็กช่วย
  • ทำความสะอาดโคนต้นและกำจัดเศษซากใบไม้
  1. รากเน่า

ใบกัญชาเหลือง เกิดจากรากเน่าที่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการรดน้ำที่มากเกินไป การรดน้ำมากไปจะทำให้จุลินทรีย์ก่อโรคเติบโตในดินได้ และจุลินทรีย์เหล่านี้จะเข้าไปกัดกินรากของกัญชา ขัดขวางการดูดซึมสารอาหารต่างๆ เมื่อได้รับสารอาหารไม่เพียงพอใบจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวลง ถ้ายังไม่รีบแก้ไขต้นกัญชาของคุณจะตายอย่างช้าๆ

วิธีแก้ไขและป้องกัน

  • เพิ่มเชื้อราไมคอร์ไรซาลงไปในดิน เพื่อช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย
  • ระมัดระวังการรดน้ำที่ถี่และปริมาณมากจนเกินไป
  • ต้นที่รากเน่ามากๆ ให้ย้ายต้นกัญชาไปปลูกลงที่ใหม่ เพื่อกำจัดจุลินทรีย์ตกค้าง

สรุป

อาการ กัญชาใบเหลือง สังเกตระยะเริ่มต้นได้จากใบเริ่มมีจุดด่างเล็กๆ ปลายใบงอ ก้านอ่อนงอลง ใบม้วน หรือต้นด้านล่างเริ่มเป็นสีเหลือง ถ้าหากยังไม่รีบแก้ไขจะทำให้ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และ อาจแห้งหลุดร่วงจนถึงขั้นต้นกัญชาตายได้เลย สาเหตุที่ทำให้ กัญชา ใบเหลืองเกิดจากรดน้ำมากเกินไปจนถึงรากเน่าได้ โดนแสงมากเกินไป ขาดสารอาหาร ค่าความเป็นกรด-ด่างในดินไม่สมดุล โรคระบาดและศัตรูพืช โรคใบ อุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวเกินไป สามารถแก้ไข และ ป้องกันเบื้องต้นได้โดยให้ต้นกัญชาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป และหมั่นสังเกตความผิดปกติของต้นกัญชาบ่อยๆ เพื่อจะได้ไม่ลุกลามและใบกัญชากลับมาสวยงดงามอีกครั้ง

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://weedsthai.com

อ่านบทความเพิ่มเติม : กัญชาแมว