สรุปสาระจากร่าง พรบ กัญชา ฉบับใหม่ เข้าใจกฎหมายอย่างถูกต้อง
ปลูกกัญชาใช้เองต้องจดแจ้ง แต่ปลูกเชิงพาณิชย์ต้องขออนุญาต
หนึ่งในหัวใจสำคัญของ ร่าง พรบ กัญชา คือ การให้ประชาชนทั่วไปสามารถปลูกกัญชาได้ โดยการปลูกกัญชาจะแบ่งออกเป็นการปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน กับ การปลูกใช้เชิงพาณิชย์
สำหรับ การปลูกในเชิงพาณิชน์ ถูกกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาตรา 15 ที่ระบุว่า ผู้ประสงค์จะเพาะปลูกกัญชาต้องได้รับใบอนุญาตจากเลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยการเพาะปลูกนั้นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์ การศึกษา หรือ วิจัย หรือเพื่อประโยชน์ในพชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
โดยผู้ที่ใบ ขออนุญาตปลูกกัญชา จะต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 50,000 บาทต่อฉบับ พรบกัญชาล่าสุด ซึ่งใบอนุญาตแต่ละใบจะมีอายุประมาณ 3 ปี ทั้งนี้ หากผู้ใดปลูกกัญชาโดยไม่มีใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ถึง 3 ปี หรือต้องโทษปรับไม่เกิน 100,000 ถึง300,000 บาท หรือ ต้องโทษทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ ในร่าง พ.ร.บ.กัญชา มาตรา 20/5 ยังกำหนดให้ผู้ที่ขออนุญาตปลูกกัญชามีหน้าที่จัดสถานที่ปลูกกัญาให้ปลอดภัยจากบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง และ มีมาตรการป้องกันไม่ให้มีผู้ได้รับอันตรายจากการบริโภคกัญชา หรือการใช้กัญชาในทางที่ผิด
หากผู้ขอรับใบอนุญาตเพาะปลูกกัญชาไม่สามารถดำเนินการตามที่ กฎหมายกัญชา กำหนดได้ ให้เลขาธิการ อย. มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตการเพาะปลูกกัญชา
ส่วนในกรณี การปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือน ถูกกำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาตรา 18 ที่กำหนดให้หนึ่งครัวเรือนปลูกกัญชาได้ไม่เกิน 15 ต้น เว้นแต่เป็นสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมอพื้นบ้าน หรือหน่วยงานของรัฐ ปลูกกัญชาได้กี่ต้น สามารถปลูกได้มากกว่า 15 ต้น แต่ต้องเป็นไปเพื่อใช้ปรุงยาเพื่อรักษาโรคให้กับผู้ป่วยหรือสัตว์ที่อยู่ในการดูแลของตน โดยให้จดแจ้งกับ เลขาธิการ อย. และเมื่อได้รับใบจดแจ้งแล้วจึงดำเนินการปลูกได้
อีกทั้ง ตาม ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กำหนดให้ใบจดแจ้งมีอายุ 1 ปี กัญชาถูกกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่ต้องการปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือนต้องทำการจดแจ้งใหม่ทุกปี และหากผู้ใดฝ่าฝืนปลูกกัญชาในครัวเรือนเกินกว่าที่กำหนดหรือฝ่าฝืนปลูกกัญชาโดยไม่ได้รับการจดแจ้ง จะต้องรับโทษปรับเป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท
นอกจากนี้ ตามร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาตรา 20/6 ได้กำหนดหน้าที่สำหรับผู้จดแจ้งไว้ด้วยว่า ห้ามขายกัญชาที่ได้มาจากการเพาะปลูกในครัวเรือน และ การเพาะปลูกกัญชาต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าถึง และ นำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด หากฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการที่กฎหมายกำหนดจะถูกสั่งเพิกถอนใบจดแจ้ง
อย่างไรก็ดี เมื่อนำมาตรการควบคุมการเพาะปลูกกัญชาตาม ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาเปรียบเทียบกับมาตรการของต่างประเทศ จะพบความแตกต่างอยู่อย่างน้อยสองประเด็น ได้แก่
หนึ่ง จำนวนการเพาะปลูก ตามร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ของไทย กัญชาไทย อนุญาตให้ปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือนได้ไม่เกิน 15 ต้นต่อครัวเรือน ซึ่งจำนวนดังกล่าวมากว่าประเทศอื่นๆ ที่มีการอนุญาตให้ปลูกกัญชาได้ถึง 2-3 เท่า อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และอุรุกวัย จะกำหนดจำนวนการเพาะปลูกกัญชาไว้ไม่เกิน 4-6 ต้น
สอง การจัดสถานที่ในการเพาะปลูก ตามร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มีการกำหนดเรื่องต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าถึง และ นำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด แต่กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน ต่างกับในสหรัฐอเมริกา รัฐโคโลราโด ที่กำหนดให้สถานที่ปลูก การปลูกกัญชา ต้องมีรั้วรอบขอบชิดไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เช่นเดียวกับ แคนาดาที่มีการกำหนดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยไม่ให้ผู้อื่นทราบว่ามีการปลูกกัญชา ด้วยการติดตั้งรั้วสูง มีประตูล็อค มีการติดตั้งระบบเตือนภัย เป็นต้น
ห้ามขายออนไลน์-ห้ามขายในที่สาธารณะ-ห้ามขายเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี
ในร่าง พ.ร.บ.กัญชา มาตรา 15 กำหนดให้ผู้ที่ต้องการขายกัญชาหรือสารสกัดกัญชาต้องขอใบอนุญาต การจดแจ้งปลูกกัญชากัญชง เช่นเดียวกับผู้ที่ต้องการปลูกกัญชาในเชิงพาณิชย์ แต่ค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตจะอยู่ที่ 5,000 บาท ใบอนุญาตขายกัญชา ถ้าหากผู้ใดขายกัญชาโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
โดยมาตรการสำคัญในการควบคุมการขายกัญชาจะอยู่ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ หมวดที่ 10 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภค กัญชา กัญชง หรือสารสกัด และ การป้องกันการใช้ กัญชา กัญชง หรือ สารสกัดในทางที่ผิด
มาตรา 37 กำหนดว่า ห้ามขายกัญชา หรือ สารสกัด น้ำกัญชา หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีกัญชา ให้แก่บุคคลซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี หรือ สตรีมีครรภ์ หรือ สตรีที่ให้นมบุตร หรือ บุคคลอื่นใดตามที่รัฐมนตรีกำหนด หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือมีโทษปรับไม่เกิน 60,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 37/1 กำหนดว่า ห้ามขายกัญชา หรือ สารสกัด หรือ อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีกัญชา ผ่านเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ ห้ามขายช่อดอกผ่านออนไลน์ ห้ามขายในลักษณะของการ ‘เร่ขาย’ ช่อดอกหรือยาง อีกทั้งยังห้ามแจก แถม พร้อม กับ สินค้าหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมถึง ห้ามแสดงราคาหรือส่งเสริมการขายเพื่อจูงใจให้บริโภคช่ดอกหรือยางของกัญชา หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 37/2 กำหนดว่า ห้ามขายกัญชาในวัด หรือ สถานที่สําหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา, สถานศึกษา, หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก, สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และ สวนสนุก, สถานที่อื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ หากฝ่าฝืนมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
นอกจากนี้ ใน มาตรา 37/3 ยังกำหนดว่า ห้ามขายอาหารที่มีกัญชา/ กัญชงเป็นส่วนประกอบหรือวัตถุดิบในสถานศึกษา หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท
อย่างไรก็ดี เมื่อนำมาตรการควบคุมการขายกัญชาตาม ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จะพบความแตกต่างอยู่อย่างน้อยสองประเด็น ได้แก่
หนึ่ง การกำหนดสถานที่ขาย แม้ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ของไทยจะมีการกำหนด ร้านกัญชา สถานที่ห้ามขายอย่างศาสนสถาน สถานศึกษา หอพัก ฯลฯ แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศจะพบรายละเอียดที่ต่างกัน กล่าวคือ ในสหรัฐอเมริกา หรือ เนเธอแลนด์ จะมีการกำหนดว่า สถานที่ขายจะต้องตั้งห่างจากสถานศึกษาและที่สาธารณะไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟุต (300 เมตร)
สอง การจำกัดปริมาณการซื้อขาย-ครอบครอง ในร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ของไทย ขายกัญชาได้ไหม ยังไม่มีการกำหนดเรื่องปริมาณในการซื้อขาย หรือ ครอบครองกัญชาไว้เลย ซึ่งแตกต่างจากต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีการกำหนดปริมาณการครอบครองไว้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ไม่เกิน 1-2.5 ออนซ์ ไม่เกิน 30-75 กรัม
ให้ใช้กัญชาเพื่อรักษาสุขภาพ (และนันทนาการ) แต่ควบคุมการใช้ในที่สาธารณะ
หนึ่งในข้อวิจารณ์สำคัญเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ คือ ขอบเขตของการใช้กัญชา โดย พ.ร.บ.กัญชาฯ ได้กำหนดนิยามการบริโภคกัญชาไว้ อย่างน้อย 4 ลักษณะ ได้แก่ กิน เคี้ยว อม สูบ รวมไปถึงการนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ หรือ ลักษณะใดๆ หรือพูดง่ายๆ โทษของกัญชา ว่า ตัวร่างกฎหมายอนุญาตให้คนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไปสามารถเสพกัญชาเข้าสู่ร่าวงกายได้ตามปกติ โดยไม่มีเงื่อนไขพิเศษ
แม้ใน ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ จะพยายามจำกัดการใช้กัญชาในบ้านไว้ว่า ให้ใช้เพื่อ “ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว” ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน แต่การไม่จำกัดเงื่อนไขบุคคลที่ได้รับการอนุญาตในการปลูกหรือการซื้อขาย เช่น ต้องเป็นผู้ที่มีอาการป่วยที่จำเป็นจะต้องใช้กัญชา หรือ มีใบสั่งจากแพทย์ ก็ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงหรือใช้กัญชาเพื่อนันทนาการหรือใช้เพื่อความสนุกสานหรือผ่อนคลายได้
ซึ่งข้อเท็จจริงข้างต้น ค่อนข้างสวนทางกับสิ่งที่ ศุภชัย ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคภูมิใจไทย และ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ให้สัมภาษณ์ว่า กฎหมายไม่ได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องนันทนาการ เพราะแม้ความจริงกฎหมายจะไม่ได้เขียนไว้ให้ทำได้ แต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามหรือสร้างเงื่อนไขในการจำกัดการใช้หรือเข้าถึง
นอกจากนี้ ตัวกฎหมายยังเปิดช่องรองรับการใช้กัญชาเพื่อนันนทนาการ เช่น ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาตรา 37/5 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกัญชาสามารถกำหนดให้มีเขตหรือสถานที่สูบกัญชาได้ ซึ่งอาจจะเปิดช่องให้มีร้านขายและเสพกัญชาในทีเดียวกัน เหมือนกันร้าน Coffee Shop ในประเทศเนเธอแลนด์
อย่างไรก็ดี การใช้กัญชาหรือการบริโภคกัญชา ไม่ว่าจะกิน เคี้ยว อม สูบ มีการกำหนดข้อห้ามเอาไว้ในหมวดที่ 10 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการบริโภค กัญชา กัญชง หรือสารสกัด และ การป้องกันการใช้ กัญชา กัญชง หรือสารสกัดในทางที่ผิด ดังนี้
หนึ่ง มาตรา 37/4 ห้ามผู้ใดสูบกัญชา หรือสารสกัดในสถานที่สาธารณะ หรือ สถานที่ อย่างเช่น ศาสนสถาน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ร้านขายยา สถานที่ราชการ สถานศึกษา สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนสาธารณะ สวนสนุก หรือ ร้านอาหาร ทั้งนี้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 60,000 บาท
สอง มาตรา 37/7 ห้ามผู้ใดขับขี่ยานพาหนะในขณะมึนเมากัญชา หรือสารสกัด หรือ อาหารที่มีกัญชา โดยให้เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ในการควบคุม หรือ กำกับการจราจร มีอำนาจสั่งให้ผู้ขับขี่หยุดยานพาหนะ และสั่งให้มีการทดสอบผู้ขับขี่ดังกล่าวว่า มึนเมากัญชาหรือไม่ ทั้งนี้ ถ้าพบว่ามีผู้ใดกระทำความผิดข้างต้น ผู้นั้นจะต้องรับโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
เมื่อนำมาตรการการเสพหรือใช้กัญชาตาม ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ มาเปรียบเทียบกับมาตรการในต่างประเทศ จะพบว่ามีส่วนที่คล้ายกันอยู่ เช่น ร้านขายกัญชา การกำหนดสถานที่ใช้การใช้ หรือ การสูบกัญชา รวมถึงมีมาตรการรักษาความปลอดภัยจากผู้ที่ใช้กัญชา อย่างการห้ามขับขี่ยานพาหนะที่ผู้ขับขี่มีลักษณะมึนเมากัญชา
กล่าวโดยสรุป ร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ยังเปิดช่องให้คนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป และไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง สามารถเข้าถึงและบริโภคกัญชาได้อย่างกว้างขว้างซึ่งหมายรวมไปถึงการใช้เพื่อการนันทนาการ และไม่ได้จำกัดอยู่แค่การใช้กัญชารักษาโรคในทางการแพทย์เท่านั้น
อ้างอิงจากเว็บ : https://weedsthai.com
อ่านบทความเพิ่มเติม : สายพันธุ์กัญชา